วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556





การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา


วิเคราะห์ : การเรียนการสอนเป็นการสนทนาเเละการใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนตอบเกี่ยวกับเรื่องราวในการดำเนินชีวิตประจำวันรวมไปถึงการใช้การทดลองไม่ว่าจะเป็นลูกโป่ง ผ้าเพื่อนำมาถูเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิต โดยที่สิ่งที่นักเรียนทำนี้เองเป็นการที่นักเรียนจะได้การเรียนรู้เเละการค้นพบสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเองโดยปราศจากการบอกจากคุณครูทำให้สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้นี้เองจะเป็นความทรงจำระยะยาวเเละสามารถเกิดเป็นมโนทัศน์ที่มีความคงทนเพราะนักเรียนเป็นผู้ค้นพบเเละได้ความรู้มาด้วยตนเอง นอกจากนี้เเล้วกระบวนการที่ครูสอนนี้จะอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการที่นำการสอนเพื่อเป็นสิ่งเร้าเเก่นักเรียนเเละยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนเคยพบเห็นเเละกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยจากสิ่งที่เกิดขึ้น จากนั้นนักเรียนเกิดการตั้งปัญหาเเละสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเหตุกาณ์นั้นๆจนนักเรียนอาจจะตั้งสมมติฐานไว้ โดยที่บทบาทของครูนั้นคือการหาอุปกรณ์มาเพื่อให้นักเรียนได้ทำการทดลองเเละตอบสิ่งนักเรียนเองสงสัยเมื่อนักเรียนได้ความรู้เเล้วครู จึงนำสรุปอภิปรายผลที่ได้จากการทดลองเเละสรุปว่ามโนทัศน์ที่เเท้จริงที่ครูสอนนั้นคืออะไร เเละสิ่งนี้เองที่ทำให้นักเรียนรู้สึก น่าตื่นเต้น น่าสนใจ น่าดึงดูดใจ จนกระทั่งทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกประทับใจกับการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ที่เป็นวิชาที่บุคคลทั่วไปรู้สึกว่าเป็นวิชาที่ยากเกินจะเข้าใจได้

ที่มา : โครงการโทรทัศน์ครู บริหารโครงการโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 - 2555
ดำเนินงานโดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


วันที่ 06/02/2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น